HOME / Article / วัดโพธิ์กับยูเนสโก

วัดโพธิ์กับยูเนสโก


18209 VIEW | 7 ธ.ค. 61
วัดพระเชตุพน


วัดโพธิ์กับยูเนสโก
โดย..สาวิตรี สุวรรณสถิตย์
อดีตเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโก และรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากระทรวงวัฒนธรรม และกรรมการในคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก

จากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
บุคคลสำ คัญของโลก…
สู่จารึกวัดโพธิ์ มรดกความทรงจำ แห่งโลก


สืบเนื่องจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นบุคคลสำ คัญ ของโลก ในวาระครบ ๒๐๐ ปี แห่งวันคล้ายวันประสูติวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ครั้งนั้นยูเนสโกได้ร่วมกับรัฐบาล โดยสำ นักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ (โครงสร้างหน่วยราชการใน ขณะนั้นยังไม่มีกระทรวงวัฒนธรรม) และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จัดนิทรรศการเผยแพร่พระเกียรติคุณพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นรัตนกวี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณพระอุโบสถวัดพระเชตุพน ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ นิทรรศการดังกล่าวนี้ ประกอบด้วยสื่อ หลากหลาย อาทิ แผ่นภาพประกอบคำ บรรยาย การแสดงด้วยโปรแกรม คอมพิวเตอร์ วีดีโอเรื่อง มหารัตนกวี โดยบันทึกเทปจากการสัมภาษณ์ บุคคลต่างๆ จัดทำ เทปวรรณกรรมพระราชนิพนธ์ และนำ เสนอหนังสือพระประวัติและพระนิพนธ์ที่เคยตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว มาจัดแสดงไว้ให้ผู้มา เที่ยวชมได้ศึกษาค้นคว้า ที่สำคัญนิทรรศการนี้ ได้หมุนเวียนไปจัดแสดงใน จังหวัดต่างๆ ตลอดปี ๒๕๓๓ ด้วย

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นพระโอรส องค์ที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กับเจ้าจอม มารดาจุ้ย (ต่อมาเลื่อนเป็นท้าวทรงกันดาล) พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้า วาสุกรี ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๓๓ ต่อมาเมื่อ ทรงเจริญพระชนมายุ ๑๒ พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถ โปรดให้ทรง บรรพชาเป็นสามเณรพร้อมกับพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าฉัตร (ต่อมา คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในการนี้ โปรดให้พระองค์เจ้าวาสุกรีเสด็จไปประทับจำ พรรษาที่ วัดพระเชตุพน หรือวัดโพธิ์ ส่วนพระองค์เจ้าฉัตรเสด็จไปประทับจำ พรรษา ที่วัดระฆังโฆสิตาราม

ครั้นพระชันษาครบผนวชก็ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในรัชกาล ที่ ๒ มีพระสมณฉายาว่า “สุวณฺณรํสี” ประทับจำ พรรษาต่อมา ณ วัดพระเชตุพน และทรงเป็นศิษย์ของสมเด็จพระพนรัตน (แก้ว) อธิบดีสงฆ์ แห่งวัดพระเชตุพน ทรงศึกษาเรียนรู้พระธรรมวินัย พระไตรปิฎก ภาษาไทย ภาษามคธ วรรณคดีโบราณภาษาบาลี โบราณศาสตร์ โหราศาสตร์ และ เวทมนตร์อักขระ การลงเลขยันต์ต่างๆ ตำ ราพิไชยสงคราม โหราศาสตร์ ต่างๆ จนทรงเชี่ยวชาญแตกฉาน ครั้นเมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุได้ ๓ พรรษา สมเด็จพระพนรัตน (แก้ว) ก็ถึงแก่มรณภาพ ในปีนั้น พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เสด็จพระราชดำ เนินไปถวาย ผ้าพระกฐินที่วัดพระเชตุพน ได้ทรงสถาปนาเป็นพระราชาคณะและโปรด ให้ทรงกรมเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ

ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรด ให้เป็นเจ้าคณะกลาง

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๓๙๔ โปรดให้ทรงรับมหาสมณุตมาภิเษก เป็นกรมสมเด็จพระ ปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์ฯ ให้ทรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระมหา สังฆปริณายกทั่วพระราชอาณาเขต ต่อมาพระองค์ทรงประชวรด้วยโรคชรา และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ พระชนมายุ ๖๔ พรรษา

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โปรดให้สถาปนาพระอัฐิเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส

งานพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรสนั้น มีอยู่เป็นจำ นวนมาก ล้วนมีคุณค่าทางด้านอักษรศาสตร์ เช่น สรรพสิทธิคำฉันท์ สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนปลาย กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ฉันท์วรรณพฤติ ฉันท์มาตราพฤติ ลิลิตตะเลงพ่าย ลิลิตกระบวนพยุหยาตรา พระกฐินสถลมารคและชลมารค โคลงดั้นเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน เป็นต้น

นับจากวันที่ยูเนสโกประกาศยกย่องสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นบุคคลสำคัญของโลก เหตุการณ์ครั้งนั้นยัง คงอยู่ในความทรงจำของคนไทยตราบจนถึงทุกวันนี้ และในปี ๒๕๕๔ นี้ องค์การยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลก เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากการประชุมของคณะ กรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำ แห่งโลกของ ยูเนสโก ครั้งที่ ๑๐ ณ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ เมืองแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร

จารึกวัดโพธิ์นี้ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำ แห่งโลก ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งขึ้นตามข้อเสนอของคณะกรรมการ แห่งชาติว่าด้วยยูเนสโก ได้ทำการศึกษารายละเอียด จัดประชุมในระดับชาติ ร่วมกับวัดโพธิ์เพื่อรวบรวมข้อมูล และจัดทำ เอกสารเสนอขึ้นทะเบียน มรดกความทรงจำแห่งโลก ระดับภูมิภาคก่อน เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑ หลังจากนั้นคณะกรรมการแห่งชาติฯ ได้พิจารณาเห็นว่าควรเสนอให้อยู่ในทะเบียนมรดก ความทรงจำแห่งโลก ระดับนานาชาติต่อไป จึงได้ดำ เนินการตามขั้นตอน จนสำ เร็จในปีนี้ 

โครงการว่าด้วยแผนงานของยูเนสโกด้านมรดกความทรงจำแห่งโลก เป็นโครงการภายใต้โครงงานอนุรักษ์มรดกเอกสารและหลักฐาน ซึ่งอยู่ใต้ แผนกการสื่อสารของยูเนสโก วัตถุประสงค์ของโครงการมรดกความทรงจำ แห่งโลก ก็เพื่อสงวนรักษา มรดกที่เป็นเอกสารหลักฐานสำ คัญของโลก ซึ่งเป็น เหมือนกระจกเงาสะท้อนให้เห็นความหลากหลายมั่งคั่งด้านภาษา ผู้คน และวัฒนธรรม อันประกอบกันเป็นความทรงจำ ของโลก และ ส่งเสริมให้มีการเข้าถึง เพื่อใช้ประโยชน์จากมรดกเอกสารหลักฐาน ของโลกให้กว้างขวางขึ้น

เกณฑ์การพิจารณามรดกความทรงจำ แห่งโลกคือ จะต้องมีความ สำคัญที่เชื่อมโยงกับยุคสมัย หรือห้วงเวลา และสถานที่ บุคคลหรือคณะ บุคคล และต้องมีความสำ คัญในด้านสังคมวัฒนธรรมในระดับสากล ที่ สำคัญคือต้องเป็นของแท้ที่สมบูรณ์ เป็นหนึ่งเดียว หาที่อื่นมาทดแทนไม่ได้ นอกจากนี้ ต้องมีแผนการสงวนรักษาและเผยแพร่ให้ประชาชนเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ โดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความ ทรงจำ แห่งโลกกำ หนดว่า ให้มีการขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำ ทั้งใน ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสำคัญ ของมรดกความทรงจำแต่ละรายการ

ในส่วนของประเทศไทยได้ขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลก ระดับนานาชาติ แล้ว จำ นวน ๓ รายการ คือจารึกพ่อขุนรามคำ แหง เอกสารจดหมายเหตุการปฏิรูปการบริหารการปกครองประเทศสยามใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓ และจารึกวัดโพธิ์ ซึ่งผ่านการพิจารณาตามเกณฑ์ของยูเนสโก คือ

– มีความเป็นสากลในเนื้อหาสาระที่สืบทอดมาแต่โบราณ เช่น เรื่อง พุทธศาสนา ตำ รายา การนวด และฤๅษีดัดตน
– มีความสมบูรณ์ และมีหนึ่งเดียวหาที่อื่นทดแทนไม่ได้
– เป็นของจริงแท้ มีประวัติโดยมีหนังสือสมุดไทยและจดหมายเหตุ ปรากฏเป็นหลักฐานชัดเจน
– เป็นหลักฐานที่เกี่ยวกับบุคคลสำ คัญในประวัติศาสตร์ไทยและ บุคคลที่โลกยกย่อง
– มีการอนุรักษ์เนื้อหาสาระไว้ในเบื้องต้นแล้ว โดยได้มีการทำสำ เนา ข้อความจารึกไว้เป็นหลักฐานในหนังสือสมุดไทยเมื่อครั้งที่จารึก ลงบนแผ่นศิลา
– มีการจัดพิมพ์ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน แจกจ่ายเผยแพร่ ให้แก่หน่วยงานและผู้สนใจ
– มีการสำ รวจ บันทึกภาพ และจัดทำ ทะเบียนจารึกวัดโพธิ์ พร้อม กับจำ แนกหมวดหมู่ จัดทำ ประวัติ ระบุความสำคัญด้านต่างๆ จัดทำ เป็นภาษาอังกฤษ เสนอไปยังคณะกรรมการมรดกความ ทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก
– มีแผนการอนุรักษ์และเผยแพร่ ซึ่งคณะกรรมการแห่งชาติฯ ดำ เนินการร่วมกับกรมศิลปากรและวัดโพธิ์

๏ วิชชาควรรักรู้        ฤๅขาด
อย่าหมิ่นศิลปศาสตร  ว่าน้อย
รู้จริงสิ่งเดียวอาจ      มีมั่ง
เลี้ยงชีพช้าอยู่ร้อย    ชั่วลื้อหลานเหลน ฯ

โคลงโลกนิติ พระนิพนธ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร


"ยอมรับคุกกี้" เพื่อให้เว็บไซต์นำเสนอประสบการณ์ที่ดีขึ้นสำหรับคุณ

เว็บไซต์วัดโพธิ์ได้จัดทำนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการทุกท่าน ( Personal information ) ที่ติดต่อเข้ามายังเว็บไซด์วัดโพธิ์ อ่านเพิ่มเติม