HOME / Article / แม่ซื้อ : เทวดาผู้คุ้มครองเด็กทารก

แม่ซื้อ : เทวดาผู้คุ้มครองเด็กทารก


29438 VIEW | 7 ธ.ค. 61
วัดพระเชตุพน


แม่ซื้อ : เทวดาผู้คุ้มครองเด็กทารก

โดย ก่องแก้ว วีระประจักษ์

ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ ข้าราชการบำ นาญ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

-----------------------------------------------

    ณ ศาลาหน้าพระมหาเจดีย์ด้านทิศใต้ของวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ปรากฏจารึกและภาพจิตรกรรมฝาผนัง เกี่ยวกับแม่ซื้อ สถานที่แห่งนี้จึงมีชื่อเรียกขานกันทั่วไปว่า ศาลาแม่ซื้อ

   เรื่องแม่ซื้อ เป็นความเชื่อของคนในสมัยโบราณ ยุคสมัยที่การแพทย์ ยังไม่เจริญก้าวหน้าเหมือนทุกวันนี้ ทารกแรกเกิดมักมีโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเสียชีวิตตั้งแต่เป็นทารก เป็นผลให้เกิดความเชื่อกันว่า มนุษย์ที่จะเกิดมานั้นผีปั้นรูปขึ้นก่อน แล้วจึงหาวิญญาณใส่เข้าในหุ่นนั้น เพื่อสิงเข้าสู่ครรภ์มารดา และเมื่อทารกเกิดแล้วตายแต่แรกคลอด ก็เป็น เพราะผีผู้ปั้นหุ่นเห็นว่า ทารกนั้นงามชอบใจอยากเอาไปเลี้ยง จึงทำ ให้เด็ก ตายในที่สุด ส่วนทารกที่ไม่ชอบก็ปล่อยให้มนุษย์เลี้ยงเอง ตามความเชื่อนี้ เป็นผลให้เกิดพิธีกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผีนำ ทารกกลับคืนไป เช่น ลวงผีให้เข้าใจว่าทารกนั้นไม่น่ารัก โดยติว่าน่าเกลียดน่าชัง หรือเรียก ชื่อว่า เหม็น เป็นต้น กับยังมีการให้ผู้อื่นรับซื้อเด็กไป เพื่อให้ผีเข้าใจว่า แม้แต่แม่ยังไม่รัก ไม่อยากได้ไว้ ผู้ที่ซื้อเด็กจึงมีชื่อเรียกว่า แม่ซื้อ

   แม่ซื้อเป็นคำ เรียกเทวดา หรือผีที่เชื่อว่าอยู่ประจำ ตัวเด็กทารก ตั้งแต่แรกคลอดจากครรภ์มารดา ทำ หน้าที่คอยดูแลปกปักรักษา ป้องกัน หลอกหลอน หรือเย้าแหย่ ตามแต่ลักษณะของแม่ซื้อที่อยู่กับเด็กทารก ในวันทั้งเจ็ด นับแต่แรกคลอดออกจากครรภ์มารดาจนถึงอายุ ๑๒ เดือนหรือ ๑ ขวบ แม่ซื้อจึงจะไปจากเด็กนั้น แม่ซื้อทั้งเจ็ดมีที่สถิตอยู่ในเมืองบน (คือ เมืองสวรรค์) เมืองล่าง (คือ พื้นโลก หรือ แผ่นดิน) และกลางหน (คือ ระหว่างสวรรค์ กับพื้นโลก หรือ ท่ามกลางอากาศ คือ ท้องฟ้า) 

   ในคัมภีร์ปฐมจินดาซึ่งเป็นคัมภีร์หนึ่งในกลุ่มตำ ราแพทย์แผนไทย กล่าวถึงแม่ซื้อความตอนหนึ่งว่า หากนำ รกของเด็กทารกไปฝังไว้ยังที่อยู่ ของแม่ซื้อจะทำ ให้แม่ซื้อรักใคร่เอ็นดู ปกปักรักษา เล่นหยอกล้อด้วย หาก ไม่เช่นนั้น แม่ซื้อก็จะหลอกหลอนให้เด็กตกใจ ร้องไห้ โยเย เจ็บไข้บ่อยๆ แม่ซื้อทั้งเจ็ดนี้มีนาม รูปร่างลักษณะ และที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน ดังนี้

แม่ซื้อประจำ เด็กเกิดวันอาทิตย์ ชื่อ วิจิตรนาวรรณ รูปตัวเป็นคน ศีรษะเป็นราชสีห์ มีถิ่นอาศัยอยู่บนจอมปลวก ถ้าฝังรกเด็กไว้ที่จอมปลวก จึงจะดี

แม่ซื้อประจำ เด็กเกิดวันจันทร์ ชื่อ วรรณานงคราญ บางตำ ราว่า ชื่อ นางมัณฑนานงคราญ รูปตัวเป็นคน ศีรษะเป็นม้า มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ บ่อนํ้า ถ้าฝังรกเด็กไว้ที่ริมบ่อนํ้าจึงจะดี

แม่ซื้อประจำ เด็กเกิดวันอังคาร ชื่อ นางยักษ์บริสุทธิ์ รูปตัวเป็นคน ศีรษะเป็นควาย มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ศาลเทพารักษ์ ถ้าฝังรกเด็กไว้ที่ใกล้ศาล เทพารักษ์จึงจะดี

แม่ซื้อประจำ เด็กเกิดวันพุธ ชื่อ นางสามลทรรศน์ บางตำ ราว่าชื่อ นางสมุทชาต รูปตัวเป็นคน ศีรษะเป็นช้าง บางตำ ราว่าศีรษะเป็นวัว มีถิ่น อาศัยอยู่ที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ถ้าฝังรกเด็กไว้ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์จึงจะดี

แม่ซื้อประจำ เด็กเกิดวันพฤหัสบดี ชื่อ นางกาโลทุกข์ รูปตัวเป็นคน ศีรษะเป็นกวาง มีถิ่นอาศัยอยู่ที่สระนํ้า หรือบ่อนํ้าใหญ่ ถ้าฝังรกเด็กไว้ที่ ขอบสระนํ้าจึงจะดี

แม่ซื้อประจำ เด็กเกิดวันศุกร์ ชื่อ นางยักษ์นงเยาว์ รูปตัวเป็นคน ศีรษะเป็นวัว มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ ถ้าฝังรกเด็กไว้ที่โคนต้นไทรใหญ่ จึงจะดี

แม่ซื้อประจำ เด็กเกิดวันเสาร์ ชื่อ นางเอกาไลย รูปตัวเป็นคน ศีรษะ เป็นเสือ มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ศาลพระภูมิ ถ้าฝังรกเด็กไว้ที่ใกล้ศาลพระภูมิจึงจะดี

นอกจากนี้คำ ว่า แม่ซื้อ ยังเป็นชื่อโรคที่เกิดแก่เด็กทารกตั้งแต่ แรกคลอดจากครรภ์มารดา จนถึงอายุได้ ๑๒ เดือน ลักษณะอาการของ โรคแม่ซื้อมีชื่อเรียกและอาการของโรคแตกต่างกัน ๔ ประการ คือ

๑. ปักษีหรือ ปีศาจ อาการของโรคเกิดเป็นพิษไข้จับ แล้วมีเวลา สร่าง จำแนกได้ ๔ ชนิด คือ

นนทปักษี ไข้จับเวลาเช้า สร่างเวลาคํ่า

กาฬปักษี ไข้จับเวลาคํ่า สร่างเวลาเช้ามืด

อสุนนทปักษี ไข้จับเวลาเที่ยงวัน สร่างเวลาเที่ยงคืน

เทพปักษี ไข้จับเวลาเย็น สร่างเวลาเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น

๒. ลำบองราหู อาการของโรคมีลักษณะแตกต่างกันตามอายุ ของเด็ก กำ หนดตั้งแต่เด็กมีอายุได้ ๑ เดือน จนถึง ๑๒ เดือน อาการโรค มีต่างๆ กัน ดังนี้

ลำ บองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๑ เดือน อาการเมื่อแรกจับ มีผื่นขึ้น ทั้งตัว พิษของเม็ดผื่นนั้น ทำ ให้เจ็บไปทุกขุมขน ขนชูชัน นอนสะดุ้ง ร้องไห้ หานํ้าตามิได้ เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๒ เดือน อาการเมื่อแรกจับ ทำ ให้ เจ็บคอ อ้าปากร้อง กลืนอาหารไม่ได้ เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๓ เดือน อาการเมื่อแรกจับ ทำ ให้ ท้องขึ้น ท้องพองเหลือกำ หนด อึดอัด หายใจไม่สะดวก ร้องไห้ดิ้นรนอยู่ ดังจะขาดใจ เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๔ เดือน อาการเมื่อแรกจับ นัยน์ตา จะเหลือง ให้กำ มือเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ แข็งกระด้างเกร็งไปทั้งตัว เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๕ เดือน อาการเมื่อแรกจับ มีไข้ ตัวร้อน ท้องขึ้น ท้องพอง เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๖ เดือน อาการเมื่อแรกจับ มือเท้า เย็น ท้องขึ้น ตาเหลือง หลังแข็ง เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๗ เดือน อาการเมื่อแรกจับจะบิดตัว นัยน์ตาเหลือกขึ้นบน มือกำ เท้างอ เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๘ เดือน อาการเมื่อแรกจับ มีไข้ ปากเปื่อย ยิงฟันเป็นนิจ เบื่ออาหาร เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๙ เดือน อาการเมื่อแรกจับ หนาว สะท้าน หดมือ หดเท้า เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๑๐ เดือน อาการเมื่อแรกจับ มีไข้ ตัวร้อนจัด นอนสะดุ้งผวา ร้องไห้ไม่หยุด เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๑๑ เดือน อาการเมื่อแรกจับ มีไข้ ตัวร้อน มีเม็ดพิษขึ้นที่ราวนม และรักแร้ ทำ ให้ร้องไห้ดิ้นรน กางแขนอ้ารักแร้ อยู่ตลอดเวลา เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๑๒ เดือน อาการเมื่อแรกจับ เป็นไข้ ชัก ตัวเย็น เป็นเหน็บ ร้องไห้ไม่ออก หมดสติ เป็นต้น

๓. อัคคมุขี อาการของโรคเกิดพิษไข้ตัวร้อน ท้องขึ้น อาเจียน ชักมือกำ เท้างอ เป็นต้น

๔. สะพั้น หรือ ตะพั้น อาการของโรคเกิดพิษไข้ตัวเย็นจัด ท้องขึ้น อาเจียน ชักมือกำ เท้างอ เป็นต้น

ความรู้ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องแม่ซื้อ ล้วนเป็นภูมิปัญญาของ บรรพชนไทย ในอดีตที่ได้จรรโลงสร้างสรรค์เป็นมรดกของชาติให้แก่อนุชน รุ่นหลัง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะร่วมกันอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ คู่กับบ้านเมืองสืบไป

 

 

 

๏ ชาฎกนิทานถ้วน ทวาทศ เรื่องฤๅ

อีกรูปแม่ซื้อรจ   เรขไว้

กุมารก็มีหมด หมายโรค

สิ่งละสิบสี่ให้ แพทย์รู้ดูแผน ฯ

๏ สิบสองละบองบอกเบื้อง แบบครู

แสดงรูปเรียกราหู ทั่วท้งง

จัตุราทิศภาพดู หลายหลาก

คนต่างวางปัดต้งง แต่งเส้นส่งแสลง ฯ

 

โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน

พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

 

 


"ยอมรับคุกกี้" เพื่อให้เว็บไซต์นำเสนอประสบการณ์ที่ดีขึ้นสำหรับคุณ

เว็บไซต์วัดโพธิ์ได้จัดทำนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการทุกท่าน ( Personal information ) ที่ติดต่อเข้ามายังเว็บไซด์วัดโพธิ์ อ่านเพิ่มเติม